"เงินชดเชย" หรือ "เงินทดแทนการขาดรายได้" ลูกจ้างจะได้รับเมื่อเกิดการว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ซึ่งในที่นี้ก็คือ กิจการที่รัฐสั่งให้ปิด (ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในการควบคุมการระบาดโควิด-19) ลูกจ้างที่เข้าข่ายนี้ ก็จะได้สิทธินี้จากประกันสังคมโดยตรง โดยได้รับเงินชดเชย 50% ของฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม แต่สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท โดยผู้ประกันตน มาตรา 33 บางส่วนก็จะได้เงินชดเชยตรงนี้ด้วย ที่บอกว่าบางส่วนก็เพราะมีเงื่อนไขที่ต้องนำมาพิจารณาคัดกรอง ดังนี้

กรณีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาลนายจ้างต้องขึ้นทะเบียน e-service เพื่อแจ้งว่าไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามมาตรา 33 โดยระบุให้ชัดเจนว่าลูกจ้างมีกี่คนและหยุดงานตั้งแต่วันใดถึงวันใด

ส่วนลูกจ้างมีหน้าที่กรอกแบบสปส. 2-01/7 และแนบสมุดบัญชีออมทรัพย์ส่งให้นายจ้างรวบรวมเพื่อนำส่งสำนักงานประกันสังคมภายใน 3 วัน หลังจากที่นายจ้างลงทะเบียน e-service แล้วเพื่อจะได้รับเงินโดยเร็วซึ่งเงินกองทุนประกันสังคมจะจ่าย50% (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) กรณีว่างงานสูงสุด 90 วัน ทั้งคนไทยและต่างชาติที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 รัฐบาลจะเพิ่มให้สบทบลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน (รวมแล้วได้สูงสุด10,000บาท) (ที่มาข้อมูล TNN)